ลำไย
การพัฒนาคุณภาพลำไยเพื่อส่งออก

 

 

ลำไย: พืชเศรษฐกิจที่สามารถทำเงินให้เกษตรกร และนำรายได้เข้าประเทศปีละหลายหมื่นล้านบาท ลำไยจัดเป็นพืชที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่มากที่สุด และยังไม่มีพืชไหนที่ให้ผลตอบแทนต่อหน่วยพื้นที่เท่ากับลำไย บางครั้งที่เราได้ข่าวเกี่ยวกับลำไยราคาตกต่ำ

 

สาเหตุเพราะผลผลิตของลำไยในฤดูมีมากเกินไป อีกทั้งผลผลิตที่ได้ไม่มีคุณภาพ อย่างที่เกษตรกรรู้กันอยู่แล้วว่า การที่ผลผลิตทางการเกษตรออกในฤดูหรือมีมากเกินไป ผลตอบแทนในเรื่องของราคาจะต่ำลง

ไม่ใช่เรื่องยากเลยที่จะทำลำไยคุณภาพดี..?

ในการผลิตลำไยให้มีคุณภาพนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น พันธุ์ พื้นที่ปลูก ระยะปลูก ระบบน้ำ การจัดการ การกำหนดระยะการผลิตลำไย  ถ้าเกษตรกรที่ได้รับการอบรม หมั่นศึกษาหาความรู้ ก็สามารถที่จะบังคับหรือทำลำไยให้ออกนอกฤดูได้ ที่สำคัญ

เกษตรกรต้องติดตามข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่สำคัญเช่น สภาวะการตลาดราคาที่รับซื้อต่าง ๆตลอดจนถึงผู้ที่มาซื้อลำไย  ผลผลิต
ลำไยกว่า 60% ส่งออกตลาดในประเทศจีน ในรูป ผลสด อบแห้งทั้งผล อบแห้งเนื้อ (ลำไยเนื้อทอง) ซึ่งลำไยสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลายแบบ

                                                   ต้นสูง 2.5 เมตร ผลผลิต 50-80 กิโลกรัมต่อต้น

 

การจัดการลำไยให้มีคุณภาพดี ก็จะนำมาซึ่งราคาที่ดีด้วย..?

  น้ำ คือ ปัจจัยหลักในการทำลำไยนอกฤดูให้มีคุณภาพ มีเกษตรกรบางรายชอบทำตามแบบอย่างเกษตรกรรายอื่น เช่น ราดสารตอนเดือนมีนาคม- เมษายน พอลำไยออกดอก ไม่มีน้ำรด ทำให้ลำไยดอกร่วงไม่ติดผล หรือเกษตรกรบางรายราดสาร เดือนตุลาคมพฤศจิกายน ช่วงลำไยออกดอกติดลูก ก็ทำให้

ลำไย แคระแกรน ลูกไม่โต ในการที่จะทำสวน ควรเตรียมระบบน้ำให้พร้อมก่อน สำหรับการวางระบบน้ำ ถ้าเกษตรกรศึกษาให้ดีก็จะลดต้นทุนและได้ประโยชน์มาก เช่น ระบบปั้มน้ำ, ท่อ PVC, ท่อ PE และสปริ้งเกอร์ เพราะเครื่องยนต์ที่จะนำมาใช้กับปั้ม ต้องใช้น้ำมัน
เพราะ..........................! มันคือ ต้นทุนของเกษตรกร

ดินลำไยสามารถปลูกได้ทุกพื้นที่ในประเทศไทย ดินที่มีธาตุอาหารสูง(ดินดี) เกษตรกรก็จะลดต้นทุนลงมาก แต่ถ้าดินไม่ดี น้ำท่วม เกษตรกรต้องเพิ่มต้นทุนในการจัดการ ปรับปรุงดิน เพื่อให้เหมาะสมกับลำไยมากขึ้น
ระยะปลูก (ที่เหมาะสม,ที่ควรปลูก)
      เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า แรงงานภาคเกษตรนั้นอายุเกิน 50 ปีหรือ พื้นที่ทางการเกษตรลดลง อาจมาจากการแบ่งมรดกให้ลูกหลานหรือ ขายที่ส่งควายเรียน ทำให้พื้นที่ถือครองทางการเกษตรลดลง อีกทั้งแรงงานหายาก บุคคลที่ดูแลสวนเกษตรกรนั้นเองอาจเป็น 2 ตายาย......?
      ต้นไม้สูงขึ้น แต่คนต่ำลงระยะปลูกควรนำมาพิจารณาเป็นข้อแรก ในการที่จะจัดการสวนระยะปลูกที่แนะนำคือ 4*4, 4*6 เมตร ปลูก 5 แถว เว้น 6 เมตร 1 แถวเป็นถนน หรือ 4 แถว เว้น 6 เมตร     
                       *ถ้าปลูกระยะนี้ สามารถพ่นยาได้แนวละ 2 แถวครึ่ง
   

การผลิตลำไยนอกฤดูที่ถูกต้อง
เตรียมรากดี ต้นสมบูรณ์ สะสมอาหารเพียงพอ ออกดอกแน่นอน

    หลุมปลูก ในการขุดหลุมลำไยหรือหลุมปลูกไม้ผลถ้าไม่มีฝีมือ ปากหลุมก็จะกว้าง ก้นหลุมจะแคบ อันนี้อยู่ที่ฝีมือ ประสบการณ์ ของคนขุด ว่าจะขุดปากหลุมกับก้นหลุมได้เท่ากันหรือไม่ ! ไม่ยากหรอก? กลับดินบนลงล่าง กลับดินล่างขึ้นบน ผสมปุ๋ยหมัก- ปุ๋ยคอก รองก้นหลุมแล้วก็ปลูก

พันธุ์ลำไย   พันธุ์ลำไย   พันธุ์ลำไย   พันธุ์ลำไย   พันธุ์ลำไย    

อีดอนิยมมาก ส่งออกมาก แปรรูปได้ทุกอย่าง ผิวสวย ขนาดใหญ่ เนื้อแน่น หวานพอดี
สีชมพู หอมหวาน เนื้อกรอบ นิยมมากในประเทศ ส่งออกน้อย แปรรูปน้อย นิยมปลูกขายในประเทศมากกว่า
ดอทะวาย นิยมปลูก คุณสมบัติเหมือนอีดอทุกอย่าง อายุเก็บเกี่ยว 5 เดือนครึ่งถึง 6 เดือน

ฤดู(เดือน)ที่ควรให้ผลผลิตออกสู่ตลาด

ฤดู (เดือน) ที่ควรให้ผลผลิตออกสู่ตลาด ช่วงที่ผลผลิตลำไย ออกสู่ท้องตลาด ในแต่ละช่วง ราคาไม่เท่ากัน ช่วงที่ราคาดีที่สุดก็คือ
ก่อนตรุษจีน กลางเดือนธันวาคม – ปลายเดือนมกราคม (ตรุษจีน ต้นเดือนกุมภาพันธ์ ถ้าเดือน 8 สองหน ปลายกุมภาพันธ์) 4 ปีมีครั้งหนึ่ง
วันชาติจีน 30 ตุลาคม ลำไยเก็บเกี่ยวช่วง กลางกันยายน – 20 ตุลาคม
สาร์ทจีน มีนาคม ในสถิติ 5-6 ปี ราคาเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่า 40 บาท

ลำไยตั้งแต่ออกดอกจนถึงเก็บเกี่ยว 6 - 7 เดือนครึ่ง


ในเมื่อเกษตรรู้ว่าช่วงไหนราคาดี ก็สามารถกำหนดช่วงการผลิตได้ !

 

ลดต้นทุนการผลิต เพื่อผลกำไร เพื่อความอยู่รอดของเกษตรกร

ทรงต้น
การจัดการทรงต้น ควร มีการตัดแต่งกิ่งไม่ให้ต้นสูง ควรกำหนดให้ต้นลำไย สูง 2-3 เมตร เพื่อการจัดการที่ง่ายไม่ต้องปีนป่าย อย่าลืมว่า! 80% ของแรงงานภาคการเกษตร มีอายุมากกว่า 50 ปี การจัดทรงต้นที่ดี สามารถลดต้นทุนเรื่องไม้ค้ำ การเก็บเกี่ยว การดูแลรักษา     การควบคุมคุณภาพผลผลิต

ลำไย: อายุ 35 ปี ตัดแต่งให้ต่ำได้ ทรงพุ่ม 5x5 เมตร ใช้เวลา 2 ปี ผลผลิต 120-150 กิโลกรัม

ได้ง่ายถ้ามีการจัดการที่ดี สามารถลดต้นทุนได้มากทีเดียว ในการผลิตลำไย พื้นที่ 1 ไร่ ผลิตได้ 2,000-3,000 กิโลกรัมก็ถือว่าสุดยอดแล้ว

 

เกษตรกร…? อย่าใฝ่สูง...!
“มันเก็บเกี่ยวยาก”

 

แบบนี้ทรงคอนโด หรือ ทรง 2 ชั้น
ข้างบน ได้ 30 กิโลกรัม
ข้างล่างได้ 50-80 กิโลกรัม

 

 

เรี่ยวแรงถดถอย ร่างกายอ่อนล้า แขนขาอ่อนแรง

คิดใหม่ ทำถูก เพื่อลำไยของเกษตรกร

 

การผลิตลำไยคุณภาพดี เพื่อส่งออก
ในเมื่อเกษตรกรรู้ว่า ช่วงเดือนไหนลำไยราคาดี ก็สามารถวางแผนการผลิตได้ โดยเริ่มตั้งแต่ การตัดแต่งกิ่ง เพื่อกระตุ้นให้ลำไยแตกใบชุดที่ 1 ชุดที่ 2 หรือ ตัดยอดเพื่อเพิ่มยอด ก่อนราดสาร 1 เดือน
การเตรียมราดสารในความหมายของเกษตรกร คือ การทำความสะอาดโคนต้น
การเตรียมต้นที่จะราดสาร คือ การสะสมอาหาร การเตรียมตาดอก เกษตรกรหลายๆ รายยังสับสนกับเรื่องนี้มาก และ วิธีราดสาร ควรเลือกวิธีที่สะดวกที่สุด อาจจะหว่านผงหรือ ละลายน้ำราดโคนต้น หรือฉีดพ่นก็ได้ การเปิดตาดอกก็สำคัญ อย่าลืม! พอลำไยออกดอก ต้องบำรุงช่อดอก เปลี่ยนเพศดอก ตัดแต่งช่อดอกออก มีตัดแต่งช่อผล ให้เหลือช่อละ 30-80 ลูก ทำลำไยให้โต ได้ขนาด A  AA จัมโบ้ ผิวสวย ราคาก็จะดี สวนไหนไม่จัดการตัดแต่งก็จะทำให้ลำไยลูกเล็กคุณภาพไม่ดี มีราคาถูก ทำมากได้น้อย ในการทำสวนขอให้เกษตรกรได้ศึกษาดูงานอบรม ก่อนที่จะทำ เพราะถ้าเราไม่มีข้อมูลและไม่มีความรู้ จะทำให้เสียมากกว่าได้ อย่าเป็นเกษตรกรผู้ยากจน ต้องคิดให้ดี บางครั้งความเสียดาย ก็สามารถทำให้เสียหายได้ คิด จด จำ ทำ บอกกล่าว มีอะไรดีๆ ก็บอกกันไป แรกเปลี่ยนถ่ายทอดความรู้ สู้เกษตรกรด้วยกัน

ออกดอกในทรงพุ่ม ตามกิ่ง ทำอะไรก็ง่าย


“อย่าสร้างข้อแม้ให้กับตัวเอง ทำไม่ได้ หรือ ไม่ได้ทำ”
เรียนรู้ ดูงาน ดูจริง รู้จริง ทำจริง
ความรู้ วิชาการทั้งหลายมีอยู่ใน........?    ธรรมชาติ:

 

นายถนอม ฟองอิสสระ
นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ
สำนักงานเกษตรอำเภอแม่ทะ
054-289197

  

 


ข้อมูล:                                                                    
อานนท์ ยักษ์ นักเกษตร
ฝ่ายฝึกอบรม และ พัฒนาคุณภาพลำไยเพื่อส่งออก